ฟุตบอลไทย

เรามาดูกันว่าก่อนหน้านี้ 10 จุดความแตกต่างระหว่าง ฟุตบอลลีคของไทย กับของเวียดนาม มีอะไรที่แตกต่างกันออกไปบ้าง?

1. เรียนรู้ต้นแบบจากพรีเมียร์ลีก
ก่อนปี 2007 ฟุตบอลไทยตกต่ำไปมาก ผู้เล่นที่มีคุณภาพลดลง ขณะที่บอลลีกในประเทศเองก็ไม่ได้รับความสนใจและหยุดอยู่กับที่ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย (FAT) ได้ตัดสินใจนำรูปแบบวิธีการของอังกฤษมาใช้กับลีกอาชีพของประเทศนี้ โดยได้รับคำแนะนำจาก เซอร์ เดฟ ริชาร์ด – อดีตประธานพรีเมียร์ลีกอังกฤษ

2. แต่ละสโมสรมีสนามเป็นของตัวเอง
หนึ่งสิ่งที่สโมสรในประเทศไทยจำเป็นต้องมีคือ สนามของตัวเอง ไม่ต้องมีขนาดความจุที่ใหญ่เกินไป แต่เพียงแค่พอตอบสนองความต้องการของการจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคุณภาพของพื้นผิวสนามหญ้าที่ดี การมีสนามเป็นของตนเองจะช่วยให้สะดวกในการสร้างรายได้ให้สโมสรจากการขายตั๋วและของที่ระลึก บางสโมสรสร้างสนามที่มีรูปแบบคล้ายสโมสรอังกฤษ เช่น ปราสาทสายฟ้าบุรีรัมย์สร้างสนามรูปแบบเดียวกับ สแตมฟอร์ดบริดจ์ (เชลซี), เมืองทองยูไนเต็ดสนามคล้ายกับ โอลด์ ทรัฟฟอร์ด ของแมนยู

ในเวียดนามสนามที่ใช้เป็นของท้องถิ่น สโมสรไม่ได้รับสิทธิในการจัดการ ทำให้แหล่งที่มาของรายได้ไม่แน่นอน สิ่งอำนวยความสะดวกของบางสนามยังค่อนข้างขาดแคลน คุณภาพของสนามหญ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งแถบพื้นที่ภาคเหนือนั้นแย่มาก สามารถทำให้ผู้เล่นได้รับบาดเจ็บได้ง่าย

ฟุตบอลไทย

3. ทำเงินได้มากจากลิขสิทธิ์โทรทัศน์
ควบคู่กับตั๋ว ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดทำให้เกิดรายได้ขั้นพื้นฐานของสโมสรอาชีพ ประเทศไทยทำได้ดีมาก พวกเขาจัดการแข่งขันให้ตรงกับช่วงไพรม์ไทม์ (ช่วงเวลาที่มีผู้ชมมากที่สุด) จาก 18:00น. – 20:00 น.
ค่าลิขสิทธิ์โทรทัศน์เพิ่มขึ้นจาก 5.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ระยะปี 2011 – 2013) เป็น 57 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในระยะต่อมา เมื่อเร็วๆนี้ ทรูวิชั่นได้ทำสัญญาใหม่มูลค่า 115 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายเวลาไปอีก 5 ปี ฤดูกาล 2016 – 2020

ตรงกันข้าม เงินค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดทางทีวีของ V.League มีตัวเลขเป็น 0 โดยบริษัท Viet Nam Professional Football (VPF) ยังไม่ได้รับเงินจากลิขสิทธิ์การถ่ายทอดทางโทรทัศน์ เป็นประจำทุกปีสโมสรใน V.League จะได้รับการสนับสนุนเงิน จากผู้ประกอบการที่สนับสนุนจ่ายให้กับ VPF ในการแลกเปลี่ยนกับเวลา 15 นาทีต่อแมตช์ สำหรับโฆษณาต่างๆของพวกเขาผ่านทางโทรทัศน์

 

4.นักเตะไทยได้รับการทำประกัน
1 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกันภัยที่มีชื่อเสียงอย่าง บริษัท เอไอเอ ได้ลงนามในสัญญามูลค่า 380 ล้านบาท (12.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) รวมถึงเงินประกันและการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลสำหรับผู้เล่นทั้ง 34 ทีม สิ่งนี้จะช่วยให้นักเตะเล่นด้วยความมั่นใจที่จะทุ่มเทให้กับสโมสรอย่างเต็มที่

ตรงกันข้ามกับ V.League ยังไม่มี บริษัทประกันภัยไหนที่ร่วมมือกับสโมสร แม้ว่าระดับของความรุนแรง จะมีความเสี่ยงสูงกว่าในประเทศไทย ดังนั้นเมื่อผู้เล่นได้รับบาดเจ็บสาหัสหรืออุบัติ พวกเขาจะต้องพบกับค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการรักษา โดยที่ไม่มีอนาคตที่แน่นอน ถ้าหากสโมสรไม่ยื่นมือเข้ามาช่วย

5. ผู้ให้การสนับสนุนต้องการทำสัญญาระยะยาวกับไทย
ไทยพรีเมียร์ลีกและ V.League ในปัจจุบัน ผู้ให้การสนับสนุนหลักคือ โตโยต้า แต่ระดับของความเชื่อมั่นและความร่วมมือในการสนับสนุนแตกต่างกันมาก คู่ค้ารายใหม่จากญี่ปุ่นกับ V.League ในฤดูกาล2015 จำนวนเงินประมาณ 47 ล้านบาท/ปี ในขั้นต้นของความร่วมมือมีระยะเวลาหนึ่งปี

อย่างไรก็ตามบริษัทได้สนับสนุนลีกอันดับหนึ่งของประเทศไทยในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากฤดูกาล 2013 – 2015 พวกเขาได้รับเงินสนับสนุน 200 ล้านบาท สำหรับการแข่งขัน แต่ไม่ได้จบเพียงแค่ฤดูกาล 2015 เท่านั้น ความร่วมมือครั้งนี้ได้รับการขยายสัญญาไปจนถึงฤดูกาล 2018 เป็นจำนวนเงินถึง 300 ล้านบาท

ฟุตบอลไทย

6. สโมสรปฏิเสธสินค้าลอกเลียนแบบ
สโมสรในไทยพรีเมียร์ลีกมีสปอนเซอร์เครื่องแต่งกายที่มีชื่อเสียง (Nike, Grand Sport, Warrix, FBT, Kool, Pan, Ari) หรือผลิตเอง (อาร์มี่ยูไนเต็ด, บุรีรัมย์, ชัยนาท และเชียงราย) คุณภาพของเสื้อทีมฟุตบอลเป็นสิ่งที่ทางสโมสรต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 6 แสน – 1 ล้านดอง (โดยมีราคาตั้งแต่ 900 – 1500 บาท)

เสื้อที่สโมสรใน V.League ใช้ยังเป็นแบรนด์มือสมัครเล่น เสื้อสโมสร Hanoi T&T ใน V.League หายากมากมีสปอนเซอร์เครื่องแต่งกายคือ Kappa สโมสร SLNA, Dong Thap ผลิตเสื้อเอง ในขณะที่สโมสรอื่นๆใช้ของลอกเลียนแบบโลโก้ Adidas หรือ Nike สโมสรฮองอันยาลายขายเสื้อดีที่สุดใน V.League แต่การจัดจำหน่ายและคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง

7.ความสัมพันธ์ที่ดีกับสโมสรในยุโรป
ประเทศไทยเคยมี Arsenal academy-JMG แต่ล้มเลิกไปแล้ว แต่คุณภาพของนักเตะเยาวชนของพวกเขาก็ดีมากเพราะมีการฝึกอบรมร่วมกับสโมสรยุโรป เช่น Everton, Reading, Leicester City… สโมสรอังกฤษที่มีอาคาเดมี่หรือการเปิดการฝึกอบรมในประเทศไทย ในทุกปีสโมสรที่มีชื่อเสียง เช่น Manchester United, Liverpool, Chelsea… มาทัวร์และนำไปสู่การแข่งขันที่มีคุณภาพ

ในเวียดนามไม่ได้มีความสัมพันธ์กับสโมสรใหญ่ในยุโรป HAGL-Arsenal academy-JMG มีโปรแกรมฝึกอบรมกับต่างชาติ สโมสรยุโรปได้มีการมาเยี่ยมชมเวียดนามแต่ก็ไม่สม่ำเสมอ

8.การมีสติของนักเตะ
ผู้เล่นไทยมีความตระหนักในการรักษาภาพลักษณ์ของตัวเองเพราะมันเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์โดยตรง พวกเขามีสนามที่สวยงาม, ทุ่มเท่เพื่อเป็นไอดอลของแฟนบอล ขณะที่มีแฟนบอลมากขึ้นพวกเขาก็จะได้ประโยชน์มากขึ้น เมื่อย้ายไปสโมสรอื่นก็จะมีแฟนบอลติดตามไปด้วย แฟนบอลไทยนิยมชมชอบความหล่อและทักษะการเล่นของนักเตะเป็นอย่างมาก

โดยผู้เล่นเวียดนามไม่ยังไม่ให้ความสำคัยกับเรื่องนี้มากนัก หลังจากแข่งขันเสร็จ ผู้เล่นเวียดนามบางคนไปบาร์ ทำให้ประชาชนเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ โดยสโมสรในเวียดนามไม่มีแพทย์ที่ดูแลเกี่ยวกับโภชนาการ, ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกาย เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อจิตสำนึกของผู้เล่น

9. สโมสรมุ่งเน้นไปที่แฟนบอลเสมอ
สโมสรส่วนใหญ่ได้ยินถึงความต้องการ คิดหาวิธีที่จะดึงดูดแฟนๆจำนวนมากไปที่สนาม สำหรับพวกเขาสนามและชัยชนะที่งดงามเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ตอบแทนแฟนบอล ดังนั้นสโมสรจะพยายามเก็บรักษาฐานแฟนบอลตลอดทั้งฤดูกาล

ใน V.League สโมสรส่วนมากไม่รู้จักสร้างภาพลักษณ์ แฟนบอลหันไปวิพากษ์วิจารณ์สโมสรมีให้เห็นไม่ยาก แฟนบอลบางส่วนหันหนีให้กับสโมสรที่ตนเองชอบเมื่อสโมสรพวกเขาพ่ายแพ้ในการแข่งขัน

10. สมาคมทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
สหพันธ์ฟุตบอลเวียดนาม (VFF) มีบุคคลกรอยู่ประมาณ 100 คน มีพื้นที่ในการทำกิจกรรมต่างๆอยู่ประมาณ 7 ไร่
อย่างไรก็ตามหน่วยงานที่คอยควบคุมดูแลกีฬาฟุตบอลของประเทศเวียดนามนั้นกลับยิ่งดูมืดมนลงไปทุกที มุ่งเน้นที่การก่อสร้างลีกอาชีพจนไปถึงไปจ้างโค้ชให้กับทีมชาติ และไม่มีความสามัคคีกันในการเป็นผู้นำ

สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย (FAT) ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างร้อนแรง แม้กระทั่งประธานของพวกเขายังได้รับการลงโทษจากฟีฟ่า แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาพวกเขาได้ทำงานเป็นอย่างดี ช่วยให้ฟุตบอลไทยเติบโตเพิ่มขึ้นมาก พวกเขาโด่ดเด่นในย่านนี้ในฟุตบอลชาย ฟุตบอลหญิง แม้กระทั่งฟุตซอล วกเขาทะเยอทะยานที่จะชิงตั๋วไปฟุตบอลโลกปี 2020, เจ้าภาพฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลก 2013… พวกเขาทำทั้งหมดด้วยจำนวนคนเพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เมื่อเทียบกับ VFF

March 29th, 2019

Posted In: บทความ